Get Adobe Flash player

พร้อมทีมงานคุณภาพ

Mr. Manachai Chamni


Team

ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพ

เทคนิคการถ่ายภาพวัตถุเคลื่อนไหว

.

ความรู้สึกสะใจ หรือเกิดอารมณ์ร่วมกับภาพ
เป็นโจทย์ที่ท้าทายให้นักถ่ายภาพต้องค้นหาแนวทางการสื่อสาร
ไม่ว่าวัตถุจะหยุดนิ่ง หรือมีการเคลื่อนไหว
หากมีโอกาสสัมผัสจะเข้าใจว่ามันไม่ยากเกินกว่าจะสร้างสรรค์

Movement เรื่องราวของการจับภาพการเคลื่อนไหวของวัตถุให้เกิดความรู้สึกขึ้นในภาพเป็นเทคนิคการถ่ายภาพที่ช่วยให้ภาพถ่ายมีชีวิตเหมือนผู้ชมภาพได้เข้าไปยืนอยู่ ณ วินาทีนั้น หลายครั้งที่คงมีโอกาสแต่มักจะไม่ได้ถือกล้อง หรือบ้างก็ยกขึ้นมากดชัตเตอร์ไม่ทัน วันนี้ลองไปเริ่มต้นทำความเข้าใจกับปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้คุณไม่พลาดช็อตสำคัญเอาไปอวดครอบครัว หรือเพื่อนพ้องกัน

      อ๊ะๆ...อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจว่ากล้องของเราตัวเล็กๆไม่น่าจะถ่ายได้ ขอบอกเลยว่ากล้องทุกตัวทำได้เพราะอย่างน้อยก็มีโหมดสำเร็จรูปมาให้ได้ใช้กันที่เรียกว่า โหมด Sport มีสัญลักษณ์เป็นภาพคนวิ่งนั่นไงครับ...โหมดนี้จะเลือกความเร็วของชัตเตอร์ขณะบันทึกภาพให้รวดเร็วเป็นหลัก เพื่อไปหยุดความเคลื่อนไหววัตถุให้นิ่งค้างไว้ในจังหวะที่เลือกบันทึกภาพ เอาเป็นว่าทราบเทคนิคง่ายๆที่กล้องคิดให้แล้วต่อไปต้องลองไปเรียนรู้สิ่งที่มืออาชีพเลือกใช้กันว่าจะง่าย หรือยุ่งยากแค่ไหนกว่าจะเห็นเป็นผลงานมาเผยแพร่ตามสื่อต่างๆ



  High Speed Shutter เป็นการควบคุมกล้องให้มีความเร็วชัตเตอร์สูงๆแล้วต้องสูงขนาดไหนกันจะรู้ได้อย่างไร อันนี้เป็นคำถามที่ให้คำตอบได้ไม่ง่ายนัก เนื่องจากความเร็วของวัตถุ และระยะห่างระหว่างวัตถุกับกล้องก็มีผลต่อการเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ อาทิ การถ่ายภาพน้ำตกคุณจะเห็นความรุนแรงของสายน้ำที่กระเซ็นพุ่งขึ้นมาจนเห็นหยดน้ำ ภาพที่ได้ก็เล่าเรื่องราวความแรงของสายน้ำที่ไหลรวมเป็นน้ำตกได้เป็นอย่างดี ถ้าสภาพแสงดีๆมักจะเริ่มต้นตั้งความเร็วชัตเตอร์ไว้ที่ 1/500 วินาทีขึ้นไป

      ระบบโฟกัสก็สำคัญต่อความคมชัดในภาพ การหยุดความเคลื่อนไหวของวัตถุที่มีการเคลื่อนที่สามารถเลือกจากกล้องในโหมดโฟกัสต่อเนื่อง(AF-C) หรือโหมดการโฟกัสติดตามวัตถุ (Tracking AF) ให้นักถ่ายภาพเลือกใช้ตามสถานการณ์เพื่อช่วยให้ภาพมีความคมชัดสูงเพราะการโฟกัสแบบปกติเหมาะกับวัตถุที่อยู่นิ่งมากกว่า ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองอย่างควรนำมาใช้พร้อมกันหากต้องการรูปแบบภาพประเภท หยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหว



Slow Speed Shutter เป็นเทคนิคที่มือใหม่มักมองว่าความเร็วชัตเตอร์ต่ำจะทำให้ภาพไหวเบลอแล้วจะสวยหรือ? ทุกคำถามมีคำตอบ ทุกความงามมีเบื้องหลัง ทุกเทคนิคก็พลิกแพลงจากพื้นฐานการถ่ายภาพทั้งสิ้น ในเมื่อรู้อยู่แล้วว่าภาพมันจะสั่นไหวก็ควรหาอุปกรณ์มาช่วยให้เกิดความนิ่ง อาทิขาตั้งกล้องแบบสามขา (Tripod) ,ขาตั้งกล้องแบบโมโนพอด (Monopod) แต่หลายโอกาสก็ไม่จำเป็นต้องใช้เพราะเราจะอาศัยความสั่นไหวมาสร้างความเคลื่อนไหวในแนวแกนต่างๆด้วยเทคนิคแพนนิ่ง (Panning) จากซ้ายไปขวา,ขวาไปซ้าย หรือจากบนลงล่าง,ล่างขึ้นบน ส่วนจะส่วนแค่ไหนขึ้นอยู่กับจังหวะ และประสบการณ์ผสมกัน

      ระบบโฟกัสนั้นไม่จำกัดแต่ควรตั้งความเร็วชัตเตอร์ให้ต่ำเอาไว้ ซึ่งขึ้นอยู่กับความเร็วของวัตถุเช่นกัน ความเร็วที่นิยมใช้ได้แก่ 1/30วินาที, 1/15วินาที กรณีถ่ายภาพน้ำตกจะช่วยให้สายน้ำเกิดความนุ่มนวลสร้างอารมณ์พริ้วไหว อ่อนหวาน มีเรื่องราวภาพมากยิ่งขึ้นจนมีสิ่งที่เกิดตามมาคนทั่วไปเรียกว่า ART

      เลนส์ที่ใช้ไม่จำกัดเช่นกันขึ้นอยู่กับระยะห่างที่สามารถเข้าใกล้วัตถุได้มากน้อยแค่ไหน อาทิถ่ายภาพกีฬารถแข่งนั้นไม่สามารถเข้าใกล้ได้ก็ควรเลือกใช้เลนส์เทเลโฟโต้, ถ่ายภาพน้ำตกที่สามารถเข้าใกล้ได้จะใช้เลือกเลนส์ประเภทใดก็ได้ไม่มีข้อจำกัด





Continuous Shooting กล้องทุกรุ่น ทุกแบรนด์ในโหมดขับเคลื่อน (Drive Mode) จะสามารถเลือกการถ่ายภาพเป็นแบบทีละภาพ หรือถ่ายภาพต่อเนื่องได้ ตอนนี้กล้อง Mirrorless หลายรุ่นสามารถถ่ายภาพต่อเนื่องได้เร็วกว่ากล้องพวก DSLR เนื่องจากใช้ชัตเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Shutter) แต่ผู้ที่ใช้กล้อง Mirrorless กลับไม่ค่อยได้ใช้งานฟังก์ชั่นนี้เพราะยังไม่เข้าใจว่าจะนำไปใช้ตอนไหนได้บ้าง และจะให้ความคมชัดดีหรือไม่

      การถ่ายภาพกิจกรรมต่างๆที่มีความเคลื่อนไหวมีเสน่ห์มากเมื่อนำภาพมาต่อกันคล้ายกับการวาดภาพการ์ตูนแต่เห็นการเคลื่อนที่ต่อเนื่องช้ากว่ามาก โหมดนี้จะอาศัยจังหวะการเคลื่อนที่ของวัตถุหากขยับซ้ายขวาในตำแหน่งเดิมจะง่ายต่อการโฟกัส แต่ถ้ามีการเคลื่อนที่เข้าหาตัว หรือเคลื่อนที่จากตำแหน่งเดิมควรเลือกโฟกัส แบบติดตามวัตถุจะเพิ่มโอกาสภาพคมชัดให้ภาพคุณได้มาก รวมถึงเกิดความเพลิดเพลิน สนุกสนานจากการถ่ายภาพ

ข้อมูลจาก: http://www.bigcamera.co.th/